มกร, เหรา หรือตัวคาบนาค
มกร, เหรา หรือตัวคาบนาค
เหรา นั้นเป็นสัตว์ในหิมพานต์ ซึ่งค่อนไปทางจำพวกจรเข้ ผสมกับนาค หลายคนเชื่อว่ามันเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ กินเนื้อเป็นอาหาร
เหรา นั้น ชาวล้านนา พม่า เรียกว่า มกร (อ่านว่า มะ-กะ-ระ) ตัวมกรนั้นปรากฏเป็นสัตว์ในตำนานความเชื่อของพม่า เขมร และอินเดีย โดยมีลักษณะเทียบเคียงกับตัวเหราในป่าหิมพานต์ของไทย ตัวมกรเองก็จัดอยู่ในตระกูลจระเข้เช่นเดียวกันที่ชาวภาคเหนือเรียกเหราว่ามกรนั้น ก็เพราะทางภาคเหนือมีพื้นพี่ติดกับพม่าจึงได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากฝั่งพม่า บางครั้งเราก็เรียก มกร ว่า ตัวสำรอก
เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใดๆออกมาทุกครั้ง วัดในภาคเหนือนั้นนิยมปั้นเป็นรูปพญานาคเป็นราวบันได แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าพญานาคนั้นเลื้อยออกมาจากปากของสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายจรเข้ตัวหนึ่ง และราวบันไดนั้นก็มิใช่ลำตัวของพญานาคแต่เป็นลำตัวของสัตว์ประหลาดดังกล่าว สัตว์ตัวนี้คือตัวมกรหรือเหรานั่นเอง
ชาวพม่าและล้านนา เชื่อว่า มกร จะเป็นตัวแทนของความไม่รู้ หรือ อวิชชา ที่คายนาคออกมา เพื่อจะก้าวเข้าสู่วิชชา แต่หากมองในแง่มุมของการเมืองแล้ว พญานาคเป็นสัตว์ที่ชาวล้านนาให้ความเคารพและสักการะนั้น ถูกกลืนไปโดยมกร ซึ่งเป็นสัตว์ในความเชื่อของพม่า ราวกับว่าเป็นการสร้างเพื่อข่มกัน เพราะเคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาก่อน
ชาวพุทธ เชื่อว่า ตัวเหรา หรือ มกร....หมายถึง"อุปทาน ความยึดติดในตัวเอง ปรัชญาชีวิตที่เราชอบ วิธีดำรงชีวิตของเราและสิ่งที่เราติดพันหลงใหลอยู่" พญานาค หมายถึง "ความมีชีวิต ได้แก่กายและ จิต" ถ้าอุปาทานมันจับเรา เราก็เจ็บปวด ดิ้นรน ทุกข์ทรมาน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร
บางแห่งปั้นเป็นพญานาคห้าหัว หมายถึงชีวิตที่ประกอบด้วย ร่างกายส่วนที่เป็นรูปขันธ์และส่วนนามธรรมที่ประกอบด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ รวมเป็นขันธ์ห้า คือพญานาคห้าหัวแทนความมีชีวิต ที่พยายามจะเลื้อยออกจากปากของอุปาทานได้แก่ตัวมกรนั่นเอง
เหรา นั้น ชาวล้านนา พม่า เรียกว่า มกร (อ่านว่า มะ-กะ-ระ) ตัวมกรนั้นปรากฏเป็นสัตว์ในตำนานความเชื่อของพม่า เขมร และอินเดีย โดยมีลักษณะเทียบเคียงกับตัวเหราในป่าหิมพานต์ของไทย ตัวมกรเองก็จัดอยู่ในตระกูลจระเข้เช่นเดียวกันที่ชาวภาคเหนือเรียกเหราว่ามกรนั้น ก็เพราะทางภาคเหนือมีพื้นพี่ติดกับพม่าจึงได้รับอิทธิพลความเชื่อมาจากฝั่งพม่า บางครั้งเราก็เรียก มกร ว่า ตัวสำรอก
เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใดๆออกมาทุกครั้ง วัดในภาคเหนือนั้นนิยมปั้นเป็นรูปพญานาคเป็นราวบันได แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าพญานาคนั้นเลื้อยออกมาจากปากของสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายจรเข้ตัวหนึ่ง และราวบันไดนั้นก็มิใช่ลำตัวของพญานาคแต่เป็นลำตัวของสัตว์ประหลาดดังกล่าว สัตว์ตัวนี้คือตัวมกรหรือเหรานั่นเอง
ชาวพม่าและล้านนา เชื่อว่า มกร จะเป็นตัวแทนของความไม่รู้ หรือ อวิชชา ที่คายนาคออกมา เพื่อจะก้าวเข้าสู่วิชชา แต่หากมองในแง่มุมของการเมืองแล้ว พญานาคเป็นสัตว์ที่ชาวล้านนาให้ความเคารพและสักการะนั้น ถูกกลืนไปโดยมกร ซึ่งเป็นสัตว์ในความเชื่อของพม่า ราวกับว่าเป็นการสร้างเพื่อข่มกัน เพราะเคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาก่อน
ชาวพุทธ เชื่อว่า ตัวเหรา หรือ มกร....หมายถึง"อุปทาน ความยึดติดในตัวเอง ปรัชญาชีวิตที่เราชอบ วิธีดำรงชีวิตของเราและสิ่งที่เราติดพันหลงใหลอยู่" พญานาค หมายถึง "ความมีชีวิต ได้แก่กายและ จิต" ถ้าอุปาทานมันจับเรา เราก็เจ็บปวด ดิ้นรน ทุกข์ทรมาน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร
บางแห่งปั้นเป็นพญานาคห้าหัว หมายถึงชีวิตที่ประกอบด้วย ร่างกายส่วนที่เป็นรูปขันธ์และส่วนนามธรรมที่ประกอบด้วย เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์ รวมเป็นขันธ์ห้า คือพญานาคห้าหัวแทนความมีชีวิต ที่พยายามจะเลื้อยออกจากปากของอุปาทานได้แก่ตัวมกรนั่นเอง