mail

วัดกู่เหล็ก ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ประวัติความเป็นมา

ใน สมัยพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหริภุญไชย ชาติกำเนิดของพระนางจามเทวี มีที่มาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทั้งจากตำนาน พงศาวดารและหลักฐานอื่นๆ ในตำนานจามเทวีวงศ์ กล่าวว่า พระนางเป็นธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ ได้เดินทางพร้อมพระสงฆ์ผู้ทรงพระไตรปิฏกและช่างผู้มีฝีมือหลากหลายประเภทละ ๕๐๐ คน จากเมืองละโว้ สู่นครหริภุญไชย ในปีพุทธศักราช ๑๔๐๖







มกร, เหรา หรือตัวคาบนาค

เหรา นั้นเป็นสัตว์ในหิมพานต์ ซึ่งค่อนไปทางจำพวกจรเข้ ผสมกับนาค หลายคนเชื่อว่ามันเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ

ศาลเจ้าพ่อพญาแขนเหล็ก

จะกล่าวถึงเสนามหาอำมาตย์ที่ตามเสด็จผู้หนึ่ง ชื่อว่าพญาแขนเหล็ก ท่านเป็นทหารเอกของเมืองหริภุญไชยท่านได้ป้องกันเมืองหริกุญไชยหลายต่อหลายครั้ง ครั้งหนึ่งท่านได้ทำสงคราม กับทัพหลวงขุนวิลังคะ อันเป็นเจ้าเมืองมิลักขะนคร ตั้งอยู่บนดอยสูงชื่ออุฉุจบรรพต มีพลโยธามากถึง ๘๐,๐๐๐ คน










ดูทั้งหมด
play_circle_filled

ศาลเสื้อวัด หรือผีเสื้อวัด

ผีเสื้อวัด เป็นผีที่ดูแลรักษาวัด บางแห่งเรียก เทวดาวัด ในแต่ละวัดจะมีหอศาลตั้งอยู่ บางแห่งตั้งอยู่ในวัด บางแห่งตั้งอยู่นอกวัด ถ้าตั้งอยู่นอกวัด สถานที่นั้นจะเป็นที่ธรณีสงฆ์ หรือเป็นที่สาธารณะ แต่ละวัดจะมีชาวบ้านอย่างน้อย ๑ คน เป็นผู้เอาใจใส่ดูแลหอศาล มีหน้าที่จัดแจกันดอกไม้ประดับศาล เติมน้ำในคนโทให้เต็มอยู่เสมอ และปัดกวาดทำความสะอาด ถ้าวัดมีงาน ผู้ดูแลหอศาลจะเป็นคนนำพานข้าวตอกดอกไม้ธูปเทียนไปบอกกล่าวให้ผีเสื้อวัดได้รับรู้ เพื่อขอให้ช่วยดูแลงานให้เรียบร้อย ไม่ให้เกิดเรื่องร้าย หรืออย่าให้มีอุปสรรคใดๆ ระหว่างที่วัดมีงาน เช่น งานปอยหลวง (งานฉลอง) จะกี่วันก็ตาม ผู้ดูแลจะเป็นผู้จัดสำรับอาหารคาวหวานจากวัดไปถวายโดยตั้งไว้บนหอศาลทุกวัน ช่วงพรรษา เมื่อถึงวันพระ ศรัทธาชาวบ้านจะนำข้าวและอาหารมาทำบุญตักบาตรที่วัด ทางวัดจะตั้งภาชนะเพื่อใส่ข้าว อาหาร และขนมสำหรับถวายผีเสื้อวัดไว้ ๑ ชุด หลังจากที่ชาวบ้านใส่ข้าวและอาหารพระพุทธ พระสงฆ์แล้ว จะกันส่วนหนึ่งไว้เพื่อใส่ในภาชนะของผีเสื้อวัด เมื่อยกไปถวายพระพุทธ พระสงฆ์แล้ว ผู้ดูแลหอศาลจะเอาข้าวและอาหารไปถวายผีเสื้อวัด และจะทำทุกวันพระ หรือเมื่อมีงานในวัด